18873 Views |
โรคข้อสะโพกเสื่อม (hip dysplasia) เป็นโรคความเสื่อมของข้อที่มักพบได้มากในน้องหมาหมาพันธุ์ใหญ่ เช่น โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ เยอรมันเชพเพิร์ด ลาบราดอร์ และ อคิตะ สาเหตุของการเกิดโรคโดยมากมักเหนี่ยวนำจากพันธุกรรม ที่ทำให้โรคงสร้างของข้อสะโพกผิดปกติไป ข้อสะโพกตื้นกว่าปกติ ทำให้พบอาการได้แต่กำเนิด ร่วมกับปัจจัยการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อพัฒนาความรุนแรงของโรค เช่น
การรักษาข้อสะโพกเสื่อมในสุนัข
หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยอย่างแน่ชัดด้วยการคลำตรวจกระดูก และ Xray แล้ว การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมมักจะต้องอาศัยการจัดการแบบองค์รวม คือ ใช้การรักษาหลายๆวิธีร่วมกัน เพื่อเสริมการรักษาให้ได้ผลดีที่สุด ประกอบด้วย
1. "ควบคุมน้ำหนัก" เป็นปัจจัยสำคัญมากๆ ของสุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้ เพราะหากน้ำหนักมาก ตัวข้อกระดูกก็จะยิ่งต้องรับน้ำหนักตัวเยอะ ยิ่งทำให้เกิดอาการปวดค่ะ (รู้ได้อย่างไรว่าน้องหมาของเราอ้วนหรือยังนะ <<คลิก>> )
2. "การรักษาทางยา" โดยการใช้ยาแก้ปวด ลดอักเสบ โดยมักจะใช้ในการช่วยบรรเทาอาการในระยะแรก หรือ เมื่อสุนัขมีอาการปวดมาก ร่วมกับการใช้สารเสริมอาหารพวกกลูโคซาไมด์และคอนดรอยติน ที่เป็นส่วนหนึ่งของน้ำไขข้อและช่วยในการเสริมสร้างกระดูกอ่อน ซึ่งเจ้าสารเสริมสองตัวนี้ สามารถให้กินได้โดยไม่มีผลข้างเคียงค่ะ
3. "การผ่าตัด" เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก การตัดหัวกระดูก โดยมักจะใช้ในรายที่มีการเจ็บและอักเสบของข้อสะโพกอย่างรุนแรง ซึ่งต้องอาศัยการให้ยาลดปวดและการกายภาพบำบัดร่วมด้วย ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด
4. "การทำกายภาพบำบัด" เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูงและได้ผลดีในการรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อม สุนัขทุกตัวสามารถเข้ารับการรักษาได้ การใช้เลเซอร์ อัลตราซาวด์ หรือ กระตุ้นไฟฟ้า มีจุดประสงค์เพื่อลดความเจ็บปวด และฟื้นฟูเนื้อเยื่อบริเวณรอบข้อ และลดปริมาณการกินยาลดปวดลง หรือ การทำธาราบำบัด ไม่ว่าจะเป็นการเดินสายพานใต้น้ำ และ การว่ายน้ำ ก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มกล้ามเนื้อขาหลัง ลดการยึดเกร็งของข้อ และทำให้สุนัขกลับมาเดินใกล้เคียงปกติที่สุดและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นค่ะ
การดูแลสุนัขป่วยโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้น การจัดการเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ควรควบคุมน้ำหนัก ระมัดระวังไม่ให้อยู่บนพื้นลื่น ไถขนเท้า และ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหากสุนัขได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมแต่กำเนิดแล้ว ไม่ควรให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เนื่องจากจะส่งต่อความผิดปกตินี้ ไปสู่รุ่นลูกและรุ่นหลานได้ค่ะ
.....................................................................................
บทความโดย สพ.ญ. พรปวีณ์ ธนรัตน์สุทธิกุล
เครดิตภาพ : Willowveterinaryclinic
ปรึกษาสัตวแพทย์ศูนย์โรคกระดูกและข้อ
นัดหมายเข้าใช้บริการล่วงหน้าได้ที่
โทร. 085-164-6262
Line : @hospetalbyprs หรือคลิก https://lin.ee/9L6PTcm
website : https://www.hospetal.co.th
Location : https://maps.app.goo.gl/55iF8kq3bKzETigE6